วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551

นิยามและความหมาย

นิยามและความหมาย
ความหมายของคำว่า e-learning หรือ Electronic Learning ในปัจจุบันค่อนข้างแตกต่างกันออกไปตามแหล่งที่มาและการนำไปใช้ แต่กล่าวโดยทั่วไปแล้ว e-learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (knowledge) ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถนที่ (Anywhere-Anytime Learning) เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนรู้ในลักษณะ e-learning หลายคนยังเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเพียงกระบวนการเปลี่ยนสื่อและเอกสารประกอบการสอนเดม ที่อยู่ในรูปสื่อกระดาษ (Paper base ) แผ่นใสหรือหนังสือ แปลงให้อยู่ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (electronic format) เช่น แฟ้มข้อมูลชนิด Microsoft Word หรือ Microsoft PowerPoint หรือแปลงเป็นเว็บเพจแล้วนำเสนผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือเก็บไว้ในสื่อ CD-ROM จากนั้น ให้ผู้เรียนไปเรียนรู้เอง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการสอนแบบ e-learning ซึ่งแนวความคิดนี้ยังเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งนะครับ
การนำระบบ e-learning มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการสอนสูงสุดนั้น ผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบ e-learning แตกต่างจากระบบการเรียนการสอนในรูปแบบปกติที่เรียกกันว่า face-to-face หรือ traditional classroom learning อย่างไร และจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านการปรับปรุงเรื่องเนื้อหา เทคโนโลยี เทคนิคการนำเสนอและการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ การนำระบบ e-learning เข้ามาใช้ และต้องระลึกไว้อยู่เสมอว่าคุณภาพการเรียนรู้ของระบบ e-learning ต้องไม่ด้อยไปกว่าคุณภาพการเรียนรู้ในรูปแบบปกติ
คำศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) โดยปกติแล้ว การเรียนการสอนทางไกล เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกกรสอนระยะทางไกลสู่ผู้เรียนหนึ่งคน หรือมากกว่าในสถานที่ต่างกัน การเรียนการสอนแบบทางไกล เป็นระบบการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลายๆอย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์การประชุมทางไกลชนิดภาพ/เสียง รวมถึงเอกสารต่างๆเพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ทางไกล หน่วยงานที่มีชื่อว่า National Center for Education Statistics(NCES) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดแบ่งยุคต่างๆของเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบการเรียนการสอนแบบทางไกลไว้เป็น 4 ยุค ด้วยกัน แสดงในตารางที่ 1

ตาราง 1 ยุคต่างๆของการใช้เทคโนโลยีในระบบการเรียนการสอนทางไกล

ยุคที่ 1
ยุคที่ 2
ยุคที่ 3
ยุคที่ 4
ลักษณะสมบัติหลัก
ใช้เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว
ใช้เทคโนโลยีหลายอย่าง ยกเว้นคอมพิวเตอร์
ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างรวม เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ใช้เทคโนโลยีหลายอย่าง รวมถึงการเริ่มต้นใช้เทคโนโลยีแบนด์วิดท์สูง
ช่วงระหว่างปี ค.ศ.
1850-1960
1960-1985
1985-1995
1995-2005 (โดยประมาณ)
สื่อที่ใช้
สื่อสิ่งพิมพ์ (1890+)
วิทยุ (1930s)
โทรทัศน์ (1950s และ1960s)
เทปคาสเซ็ท
โทรทัศน์
แถบวีดีทัศน์
โทรสาร
สื่อสิ่งพิมพ์
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การสนทนา กระดานข่าวสารโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โปรแกรมคอมพิวเตอร์แหล่งข้อมูล สำเร็จรูปบนแผ่นบันทึกข้อมูล ซีดีรอมและอินเทอร์เน็ต
ระบบการประชุมทางเสียง
การสัมนา และการประชุมวีดีทัศน์สำหรับชั้นเรียนขนาดใหญ่ ผ่านดาวเทียม เคเบิล และเทคโนโลยีโทรศัพท์
โทรสาร
สื่อสิ่งพิมพ์
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์การสนทนากระดานข่าวสารโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผนวกกับการสื่อสารชนิดแบนด์วิดท์สูงที่สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการ เช่น กรใช้ระบบวีดีทัศน์ชนิดโต้ตอบกัน ณ เวลาจริง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แหล่งข้อมูลสำเร็จรูปบนแผ่นบันทึกข้อมูลซีดีรอมและอินเทอร์เน็ต
ระบบการประชุมทางเสียง
การประชุมวีดีทัศน์สู่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ผ่านทางดาวเทียมเคเบิลและเทคโนโลยีโทรศัพท์
โทรสาร
สื่อสิ่งพิมพ์
ลักษณะการติดต่อสื่อสาร
เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว
การปฏิสัมพันธ์ผ่านทางโทรศัพท์และไปรษณีย์
บางครั้งมีการพบปะกับผู้สอนเป็นครั้งเป็นคราว
เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว
การปฏิสัมพันธ์ผ่านทางโทรศัพท์โทรสาร และไปรษณีย์
มีการพบปะกับผู้สอนเป็นครั้งเป็นคราว
เป็นการสื่อสารแบบหลากหลาย เช่น ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการประชุมวีดีทัศน์
เป็นการสื่อสาร 2 ทางชนิดอะซิงโครนัสและซิงโครนัส
อินเทอร์เน็ตชนิดข้อมูลตัวอักษรภาพและแถบวัดีทัศน์สั้นๆ
เป็นการสื่อสารแบบโต้ตอบ 2 ทางชนิด ณ เวลาจริงทั้งภาพและเสียง
เป็นการสื่อสารแบบทั้งชนิดอะซิงโครนัสและซิงโครนัส
ส่งสัญญาณภาพวีดีทัศน์ดิจิทัลพร้อมกับข้อมูลจากฐานข้อมูลจากฐานข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเว็บ
ส่งสัญญาณภาพวีดีทัศน์ดิจิทัลที่มีความยาวมากได้เมื่อผู้ใช้ต้องการ
(ที่มา:National Center for Education Statistics, "Distance Education at Postsecondary Education Institutions:1997-98", December 1999.)
การศึกษาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Web-Based Education) American Center for the Study of Distance Education (ACSDE) ของมหาวิทยาลัย Pennsylvania State University ได้อธิบายความหมายของการศึกษาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือ Web-Based Education ไว้ว่า "เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบทางไกลชนิดหนึ่ง ซึ่งการนำเสนอ เนื้อหา และการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เกิดจากการประยุกต์ใช้ อินเทอร์เน็ตเทคโนโลยี"
เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนทางไกลชนิดอื่นแล้ว รูปแบบการเรียนการสอนชนิดนี้ มีการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดเข้าด้วยกันเช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ เสียงฯลฯ อีกทั้งยังเอื้ออำนวยให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ทั้งที่ ณ เวลาจริง หรือต่างเวลากัน การเรียนการสอนชนิดนี้ ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่ต้องมีการประสานงานกัน(Collaborative Environments) ทั้งผู้เรียนและผู้สอน สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลชนิดหลายสื่อทางไกลได้
ผู้เรียนในบางขณะอาจต้องการเข้าถึงแหล่งข้อมูล เพื่อเรียนรู้แบบที่ผู้เรียนสามารถ ควบคุมจังหวะการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ยืดหยุ่นแก่ผู้เรียน
นอกจากนี้ การเรียนการสอนชนิดนี้ยังช่วยกำจัดด้านเวลา และระยะทางแก่ผู้เรียน นั่นหมายถึงผู้เรียนสามารถเข้ามาลงเรียนรู้เนื้อหาวิชาได้ จากที่ใดก็ได้
การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) หมายถึง ระบบการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในรูปแบบของออนไลน์ ปัจจุบันมักหมายถึง การแปลงสภาพของการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม ให้กลายมาเป็นการนำเนื้อหามาเป็นในรูปแบบของเว็บเพจ หรือเสียงบรรยายที่ถูกบันทึกไว้แล้ว ทำให้นักศึกษาสามารถนำกลับมาฟังใหม่อีกได้ หรือการนำเอาลักษณะ การถามตอบในชั้นเรียนมาแปลงเป็นการใช้กระดานถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์
โครงข่ายการเรียนอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Networks:ALN) หมายถึงโครงข่ายของกลุ่มผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบที่ใดก็ได้ ณ เวลาใดก็ได้ (Anywhere-Anytime Learning)การเรียนการสอนแบบ เป็นการผนวกการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-study) กับระบบการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์อะซิงโครนัส โดยทั่วไปแล้ว คำว่า อะซิงโครนัส (Asynchronous) หมายความว่า ณ ต่างเวลากัน ฉะนั้น ผู้เรียนในระบบ ALN นี้ จะใช้การติดต่อสื่อสารผ่านทางอุปกรณ์คอมพิวเตอร เทคโนโลยีสื่อสารต่างๆ เพื่อเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนระยะไกล หรือเพื่อปฏิสัมพันธ์ กับอาจารย์ผู้สอน หรือผู้เรียนอื่น โดยไม่จำเป็นต้องออนไลน์ ณ เวลาเดียวกัน สื่อการเรียนการสอนระบบ ALN ที่นิยมใช้มกที่สุดคือ World Wide Web จากคำจำกัดความเช่นนี้ ทำให้ระบบการเรียนการสอนชนิดนี้ จำเป็นจะต้องมีระบบที่เอื้อให้เกิดการถาม-ตอบ และปฏิสัมพันธ์กันออนไลน์เช่น การใช้กระดานถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนแบบนี้ บางขณะอาจจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสาร แบบซิงโครนัส(ณ เวลาเดียวกัน) อยู่บ้าง เช่น ในขณะการพบปะกันในครั้งแรกในชั้นเรียน การทดสอบการประชุมกลุ่ม หรือการพบปะพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษาร่วมชั้นซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ อาจเกิดขึ้นในลักษณะออนไลน์ หรือ ในลักษณะพบปะกันจริงก็ได้ โดยปกติแล้ว ระบบการเรียนการสอนแบบ ALN จะไม่รวมกระบวนการวิชาที่มีลักษณะเป็นการถ่ายทอดสดระบบภาพวีดีทัศน์หรือเสียงเป็นหลัก เนื่องจากระบบการเรียนการสอนแบบนั้น ผู้เรียนและผู้สอนทั้งหมด จำเป็นต้องใช้เวลาที่ตรงกันทุกครั้ง เช่น ในการร่วมกิจกรรมที่มีการบรรยายเป็นต้น นอกจากนั้น ในระบบการเรียนการสอนที่การใช้เทปวีดีทัศน์ หรือการส่งเนื้อหาวิชาผ่านทางไปรษณีย์เป็นหลัก เช่นเดียวกันไม่จัดว่าเป็นการเรียนการสอนแบบ ALN เนื่องจากไม่เกิดการปฏิสัมพันธ์กัน ระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ผู้สอน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนคนอื่น

1 ความคิดเห็น:

ulekeezachman กล่าวว่า...

Casinos Near Casinos Near Casino City, NJ | Mapyro
Find 경산 출장안마 the best 전주 출장마사지 casinos near 파주 출장샵 Casino City, NJ in real-time and see activity. 출장마사지 Zoom 삼척 출장마사지 in or zoom out automatically.