วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เทศกาลลอยกระทง

เทศกาลลอยกระทง

ประวัติความเป็นมา
เทศกาลลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี หรืออยู่ในราวเดือนพฤศจิกายนค่ะ ถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่มีตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยเชียวนะคะ เรียกกันว่า งานลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลง เป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม เชื่อกันว่าการลอยกระทง หรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศนั้น กระทำเพื่อเป็นการสักการะ รอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมหานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ใน แคว้นทักขิณาของประเทศอินเดีย ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา

คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล

ประวัติการลอยกระทงในเมืองไทย
การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

การลอยกระทงของชาวเหนือ (ยี่เป็ง)
การลอยกระทงของชาวเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (คือเดือนยี่หรือเดือนสอง เพราะนับวันเร็วกว่าของเรา 2 เดือน) เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า

การลอยกระทงของชาวอีสาน (ไหลเรือไฟ)
การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่างๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่นๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตา
นอกจากนี้ยังมีประเพณีลอยกระทงในประเทศต่างๆ เช่นที่เขมร จีน อินเดีย โดยมีคติความเชื่อและประวัติความเป็นมาตรงกันบ้างแตกต่างกันไปบ้าง

การลอยกระทงในปัจจุบัน
การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 12 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา
ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
วัสดุที่นำมาใช้กระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ

เทศกาลเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
งานลอยกระทงที่ยิ่งใหญ่จัดขึ้นที่จังหวัดสุโขทัยเป็นงานระดับประเทศ เรียกว่า เทศกาลเผาเทียนเล่นไฟ มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศไปร่วมสนุกสนานกันเป็นประจำมากทุกปี

พิธีจองเปรียงเทศกาลลอยกระทงของสุโขทัยในสมัยโบราณ
ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้กล่าวถึงพิธีจองเปรียงไว้ดังนี้
พอถึงการพระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือน 12 เป็นนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยบรรดาประชาชนชายหญิงต่างตกแต่งโคมชักโคมแขวนโคมลอยทุกตระกูลทั่วทั้งพระนคร แล้วก็ชวนกันเล่นมหรสพสิ้นสามราตรีเป็นเยี่ยงอย่าง แต่บรรดาข้าเฝ้าฝ่ายราชบุรุษนั้น ต่างทำโคมประเทียบบริวารวิจิตรด้วยลวดลายวาดเขียนเป็นรูปสัณฐานต่างๆ ประกวดกันมาชักมาแขวนเป็นระเบียบเรียบราบตามแนวโคมชัยเสาระหงตรงหน้าพระที่นั่งชลพิมาน ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงพระราชอุทิศสักการพระมหาเกศธาตุจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์
ฝ่ายพระสนมกำนัลก็ทำโคมลอยร้อยด้วยบุปผชาติเป็นรูปต่างๆ ประกวดกันถวายให้ทรงอุทิศบูชาพระพุทธบาทซึ่งประดิษฐานยังนัมมทานทีแลข้าน้อย(นางนพมาศ) ก็กระทำโคมลอยคิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมพระสนมกำนัลทั้งปวง
ครั้นเวลาพลบค่ำ สมเด็จพระร่วงเจ้าเสด็จลงพระที่นั่งชลพิมานพร้อมด้วยอัครชายา พระบรมวงศ์และพระสนมกำนัลนางท้าวชาวชะแม่ทั้งปวง พราหมณ์ก็ถวายเสียงสังข์อันเป็นมงคล ชาวพนักงานก็ชักสายโคมชัยโคมประเทียบบริวารขึ้นพร้อมกัน เพื่อจะให้ทรงพระราชอุทิศสักการบุชาพระจุฬามณี ฝ่ายนางท้าวชาวชะแม่ก็ลอยโคมพระราชเทพี พระวงศานุวงศ์โคมพระสนมกำนัล ก็เป็นลำดับกันลงมา ถวายให้ทอดพระเนตรและทรงพระราชอุทิศ
ครั้นถึงโคมรูปดอกกระมุทของข้าน้อย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตร พลางทางตรัสชมว่าโคมลอยอย่างนี้วามประหลาด ยังหาเคยมีไม่ เป็นโคมของผู้ใดคิดกระทำ ท้าวศรีราชศักดิโสภาก็กราบบังคมทูลว่าโคมของนพมาศธิดาพระศรีมโหสถ..... ครั้นสมเด็จพระร่วงเจ้าทรงสดับ ก็ดำรัสว่าข้าน้อยนี้มีปัญญาฉลาดสมกับที่เกิดในตระกูลนักปราชญ์..... จึงมีพระราชบริหารบำหยัดสาปสรรว่า แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงการกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 พระราชพิธีจองเปรียงแล้วก็ให้กระทำโคมลอยเป็นรูปดอกกระมุทอุทิศ สักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน อันว่าโคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) ก็ปรากฏมาจนเท่าทุกวันนี้.......

แหล่งที่มา
www.banfun.com
www.kidsquare.com

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551

รูปแบบการเรียนการสอน

รูปแบบการเรียนการสอน
รูปแบบการเรียนการสอน (Learning methods) หมายถึงรูปแบบหรือชนิดของการปฏิสัมพันธ์( Interaction)แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะหลักๆคือ
1. รูปแบบการเรียนการสอนในลักษณะซิงโครนัส (Synchronous Learning methods)หมายถึงการนำเสนอองค์ความรู้ รวมถึงปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน หรือผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน เกิดขึ้น ณ เวลาพร้อมกัน หรือเกิดขึ้น ณ เวลาจริง ลักษณะการนำเสนอของ e-Learning ที่อยู่ในรูปแบบนี้ได้แก่ การใช้ระบบ Video Conference หรือระบบ Online Chat ไม่ว่าจะเป็นชนิดเสียงหรือตัวอักษร การปฏิสัมพันธ์จะเกิดขึ้น ณ เวลาเดียวกัน
2. การนำเสนอในลักษณะอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning methods)การนำเสนอในลักษณะนี้ คู่ปฏิสัมพันธ์ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาที่ตรงกัน ตัวอย่างการเรียนการสอน e-Learning ในลักษณะนี้ได้แก่ การที่ให้นักศึกษาเรียนรู้ผ่านทางเว็บเพจ การปฏิสัมพันธ์ อาจเกิดขึ้นโดยการใช้กระดานสนทนาอิเล็กทรอนิกส์ (Webboard) หรือการใช้ E-mail เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการนำสื่อ e-learning มาใช้เราพอสรุปแง่มุมวัตถุประสงค์ของการนำสื่อ e-learning มาใช้ได้เป็น 3 ระดับดังนี้ คือ
ระดับที่ 1 เป็นส่วนเสริม (Supplementary) ระดับนี้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ถูกนำเสนอออนไลน์สามารถถูกค้นพบได้ในรูปแบบอื่นๆ หน้าที่ของสิ่งต่างๆที่อยู่ออนไลน์ คือ เป็นทางเลือกทางการศึกษาแก่ผู้เรียนอีกทางหนึ่ง หรือเป็นการขยายโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์เพิ่มเติม
ระดับที่ 2 เป็นองค์ประกอบ (Complementary) ระดับนี้เป็นการเพิ่มสื่ออออนไลน์เข้าไปกับวิธีนำเสนออื่นๆ เช่น ในชั้นเรียนปกติสื่อที่เป็นออนไลน์จัดว่าเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่ผู้เรียนจะต้องเข้าไปเรียนรู้ หน้าที่ของสื่อชนิดนี้ คือการให้ประสบการณ์การเรียนแก่ผู้เรียนซึ่งประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับประเภทของสื่อที่ใช้
ระดับที่ 3 เป็นการทดแทนสมบูรณ์แบบ (Comprehensive Replacement) ระดับนี้ การนำเสนอแบบออนไลน์จัดว่าเป็นรูปแบบหลักของการนำเสนอ หรือถูกนำมาใช้ตั้งแต่ต้นของกระบวนการเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม อาจมีการนำเสนอรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องร่วมด้วยได้ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ หรือปฏิบัติการ เป็นต้น หน้าที่ของสิ่งต่างๆ ที่อยู่ออนไลน์คือเป็นการให้สิ่งแวดล้อมการเรียนอย่างสมบูรณ์ของเนื้อหากระบวนวิชานั้นๆ
ตารางเปรียบเทียบกิจกรรมการเรียน
รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนไม่ว่าเป็นในสิ่งแวดล้อมที่เป็นชั้นเรียนโดยทั่วไปหรือเรียนในระบบ e-Learning สามารถเปรียบเทียบกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดังแสดงตามตารางที่ 2
เปรียบเทียบรูปแบบการเรียนการสอน
รูปแบบของการเรียน
ในสิ่งแวดล้อมชั้นเรียนปกติ
ในแบบเรียนในระบบ e-learning
เรียนรู้จากการฟัง (Learning by listening)
ผู้เรียนนั่งฟังบรรยายในชั้นเรียน
ใช้ระบบวีดิทัศน์ออนดีมานต์ผ่านทางเว็บเพจที่ผู้เรียนสามารถเรียกดูเมื่อใดก็ได้หรือสามารถเก็บไฟล์ไว้ดูเอง
เรียนรู้จากการค้นคว้า(Discovery learning)
ผู้เรียนค้นคว้าจากห้องสมุดหรือค้นหาจากสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ
ใช้การค้นหาผ่านทางเว็บ เช่น Search Engines ต่างๆการค้นคว้าแบบนี้ค่อนข้างจะให้ผลที่บางครั้งดีกว่าการค้นคว้าจากห้องสมุดปกติ
เรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learn by doing)
ปฏิบัติการในห้องทดลอง หรือการปฏิบัติจริงในสถานการณ์ ต่างๆ รวมถึงการเขียนรายงานการสร้างบางสิ่งบางอย่างตามจุดประสงค์
ใช้การเรียนรู้แบบโมดูลการใช้แบบจำลองออนไลน์(Online Simulation) ที่เป็นทั้งระบบปฏิสัมพันธ์(Interactive) กับผู้ใช้ รวมถึงการเขียนรายงานส่งออนไลน์ การวิจารณ์ต่างๆส่งผ่านอออนไลน์
เรียนรู้จากการโต้ตอบ หรือ สนทนาในชั้นเรียน (Learn Through Discussion and Debate)
เช่นในวิชาสัมมนาที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสนทนา และโต้ตอบในชั้นเรียนส่วนใหญ่และจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ หากมีผู้เรียนจำนวนมาก
ใช้ระบบกระดานถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้การสนทนาดีกว่าในสิ่งแวดล้อมที่เป็นชั้นเรียนปกติ เมื่อผู้เรียนมีจำนวนมาก

นิยามและความหมาย

นิยามและความหมาย
ความหมายของคำว่า e-learning หรือ Electronic Learning ในปัจจุบันค่อนข้างแตกต่างกันออกไปตามแหล่งที่มาและการนำไปใช้ แต่กล่าวโดยทั่วไปแล้ว e-learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (knowledge) ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถนที่ (Anywhere-Anytime Learning) เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนรู้ในลักษณะ e-learning หลายคนยังเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเพียงกระบวนการเปลี่ยนสื่อและเอกสารประกอบการสอนเดม ที่อยู่ในรูปสื่อกระดาษ (Paper base ) แผ่นใสหรือหนังสือ แปลงให้อยู่ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (electronic format) เช่น แฟ้มข้อมูลชนิด Microsoft Word หรือ Microsoft PowerPoint หรือแปลงเป็นเว็บเพจแล้วนำเสนผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือเก็บไว้ในสื่อ CD-ROM จากนั้น ให้ผู้เรียนไปเรียนรู้เอง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการสอนแบบ e-learning ซึ่งแนวความคิดนี้ยังเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งนะครับ
การนำระบบ e-learning มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการสอนสูงสุดนั้น ผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบ e-learning แตกต่างจากระบบการเรียนการสอนในรูปแบบปกติที่เรียกกันว่า face-to-face หรือ traditional classroom learning อย่างไร และจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านการปรับปรุงเรื่องเนื้อหา เทคโนโลยี เทคนิคการนำเสนอและการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ การนำระบบ e-learning เข้ามาใช้ และต้องระลึกไว้อยู่เสมอว่าคุณภาพการเรียนรู้ของระบบ e-learning ต้องไม่ด้อยไปกว่าคุณภาพการเรียนรู้ในรูปแบบปกติ
คำศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) โดยปกติแล้ว การเรียนการสอนทางไกล เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกกรสอนระยะทางไกลสู่ผู้เรียนหนึ่งคน หรือมากกว่าในสถานที่ต่างกัน การเรียนการสอนแบบทางไกล เป็นระบบการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลายๆอย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์การประชุมทางไกลชนิดภาพ/เสียง รวมถึงเอกสารต่างๆเพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ทางไกล หน่วยงานที่มีชื่อว่า National Center for Education Statistics(NCES) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดแบ่งยุคต่างๆของเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบการเรียนการสอนแบบทางไกลไว้เป็น 4 ยุค ด้วยกัน แสดงในตารางที่ 1

ตาราง 1 ยุคต่างๆของการใช้เทคโนโลยีในระบบการเรียนการสอนทางไกล

ยุคที่ 1
ยุคที่ 2
ยุคที่ 3
ยุคที่ 4
ลักษณะสมบัติหลัก
ใช้เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว
ใช้เทคโนโลยีหลายอย่าง ยกเว้นคอมพิวเตอร์
ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างรวม เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ใช้เทคโนโลยีหลายอย่าง รวมถึงการเริ่มต้นใช้เทคโนโลยีแบนด์วิดท์สูง
ช่วงระหว่างปี ค.ศ.
1850-1960
1960-1985
1985-1995
1995-2005 (โดยประมาณ)
สื่อที่ใช้
สื่อสิ่งพิมพ์ (1890+)
วิทยุ (1930s)
โทรทัศน์ (1950s และ1960s)
เทปคาสเซ็ท
โทรทัศน์
แถบวีดีทัศน์
โทรสาร
สื่อสิ่งพิมพ์
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การสนทนา กระดานข่าวสารโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โปรแกรมคอมพิวเตอร์แหล่งข้อมูล สำเร็จรูปบนแผ่นบันทึกข้อมูล ซีดีรอมและอินเทอร์เน็ต
ระบบการประชุมทางเสียง
การสัมนา และการประชุมวีดีทัศน์สำหรับชั้นเรียนขนาดใหญ่ ผ่านดาวเทียม เคเบิล และเทคโนโลยีโทรศัพท์
โทรสาร
สื่อสิ่งพิมพ์
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์การสนทนากระดานข่าวสารโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผนวกกับการสื่อสารชนิดแบนด์วิดท์สูงที่สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการ เช่น กรใช้ระบบวีดีทัศน์ชนิดโต้ตอบกัน ณ เวลาจริง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แหล่งข้อมูลสำเร็จรูปบนแผ่นบันทึกข้อมูลซีดีรอมและอินเทอร์เน็ต
ระบบการประชุมทางเสียง
การประชุมวีดีทัศน์สู่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ผ่านทางดาวเทียมเคเบิลและเทคโนโลยีโทรศัพท์
โทรสาร
สื่อสิ่งพิมพ์
ลักษณะการติดต่อสื่อสาร
เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว
การปฏิสัมพันธ์ผ่านทางโทรศัพท์และไปรษณีย์
บางครั้งมีการพบปะกับผู้สอนเป็นครั้งเป็นคราว
เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว
การปฏิสัมพันธ์ผ่านทางโทรศัพท์โทรสาร และไปรษณีย์
มีการพบปะกับผู้สอนเป็นครั้งเป็นคราว
เป็นการสื่อสารแบบหลากหลาย เช่น ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการประชุมวีดีทัศน์
เป็นการสื่อสาร 2 ทางชนิดอะซิงโครนัสและซิงโครนัส
อินเทอร์เน็ตชนิดข้อมูลตัวอักษรภาพและแถบวัดีทัศน์สั้นๆ
เป็นการสื่อสารแบบโต้ตอบ 2 ทางชนิด ณ เวลาจริงทั้งภาพและเสียง
เป็นการสื่อสารแบบทั้งชนิดอะซิงโครนัสและซิงโครนัส
ส่งสัญญาณภาพวีดีทัศน์ดิจิทัลพร้อมกับข้อมูลจากฐานข้อมูลจากฐานข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเว็บ
ส่งสัญญาณภาพวีดีทัศน์ดิจิทัลที่มีความยาวมากได้เมื่อผู้ใช้ต้องการ
(ที่มา:National Center for Education Statistics, "Distance Education at Postsecondary Education Institutions:1997-98", December 1999.)
การศึกษาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Web-Based Education) American Center for the Study of Distance Education (ACSDE) ของมหาวิทยาลัย Pennsylvania State University ได้อธิบายความหมายของการศึกษาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือ Web-Based Education ไว้ว่า "เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบทางไกลชนิดหนึ่ง ซึ่งการนำเสนอ เนื้อหา และการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เกิดจากการประยุกต์ใช้ อินเทอร์เน็ตเทคโนโลยี"
เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนทางไกลชนิดอื่นแล้ว รูปแบบการเรียนการสอนชนิดนี้ มีการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดเข้าด้วยกันเช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ เสียงฯลฯ อีกทั้งยังเอื้ออำนวยให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ทั้งที่ ณ เวลาจริง หรือต่างเวลากัน การเรียนการสอนชนิดนี้ ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่ต้องมีการประสานงานกัน(Collaborative Environments) ทั้งผู้เรียนและผู้สอน สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลชนิดหลายสื่อทางไกลได้
ผู้เรียนในบางขณะอาจต้องการเข้าถึงแหล่งข้อมูล เพื่อเรียนรู้แบบที่ผู้เรียนสามารถ ควบคุมจังหวะการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ยืดหยุ่นแก่ผู้เรียน
นอกจากนี้ การเรียนการสอนชนิดนี้ยังช่วยกำจัดด้านเวลา และระยะทางแก่ผู้เรียน นั่นหมายถึงผู้เรียนสามารถเข้ามาลงเรียนรู้เนื้อหาวิชาได้ จากที่ใดก็ได้
การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) หมายถึง ระบบการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในรูปแบบของออนไลน์ ปัจจุบันมักหมายถึง การแปลงสภาพของการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม ให้กลายมาเป็นการนำเนื้อหามาเป็นในรูปแบบของเว็บเพจ หรือเสียงบรรยายที่ถูกบันทึกไว้แล้ว ทำให้นักศึกษาสามารถนำกลับมาฟังใหม่อีกได้ หรือการนำเอาลักษณะ การถามตอบในชั้นเรียนมาแปลงเป็นการใช้กระดานถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์
โครงข่ายการเรียนอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Networks:ALN) หมายถึงโครงข่ายของกลุ่มผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบที่ใดก็ได้ ณ เวลาใดก็ได้ (Anywhere-Anytime Learning)การเรียนการสอนแบบ เป็นการผนวกการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-study) กับระบบการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์อะซิงโครนัส โดยทั่วไปแล้ว คำว่า อะซิงโครนัส (Asynchronous) หมายความว่า ณ ต่างเวลากัน ฉะนั้น ผู้เรียนในระบบ ALN นี้ จะใช้การติดต่อสื่อสารผ่านทางอุปกรณ์คอมพิวเตอร เทคโนโลยีสื่อสารต่างๆ เพื่อเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนระยะไกล หรือเพื่อปฏิสัมพันธ์ กับอาจารย์ผู้สอน หรือผู้เรียนอื่น โดยไม่จำเป็นต้องออนไลน์ ณ เวลาเดียวกัน สื่อการเรียนการสอนระบบ ALN ที่นิยมใช้มกที่สุดคือ World Wide Web จากคำจำกัดความเช่นนี้ ทำให้ระบบการเรียนการสอนชนิดนี้ จำเป็นจะต้องมีระบบที่เอื้อให้เกิดการถาม-ตอบ และปฏิสัมพันธ์กันออนไลน์เช่น การใช้กระดานถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนแบบนี้ บางขณะอาจจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสาร แบบซิงโครนัส(ณ เวลาเดียวกัน) อยู่บ้าง เช่น ในขณะการพบปะกันในครั้งแรกในชั้นเรียน การทดสอบการประชุมกลุ่ม หรือการพบปะพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษาร่วมชั้นซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ อาจเกิดขึ้นในลักษณะออนไลน์ หรือ ในลักษณะพบปะกันจริงก็ได้ โดยปกติแล้ว ระบบการเรียนการสอนแบบ ALN จะไม่รวมกระบวนการวิชาที่มีลักษณะเป็นการถ่ายทอดสดระบบภาพวีดีทัศน์หรือเสียงเป็นหลัก เนื่องจากระบบการเรียนการสอนแบบนั้น ผู้เรียนและผู้สอนทั้งหมด จำเป็นต้องใช้เวลาที่ตรงกันทุกครั้ง เช่น ในการร่วมกิจกรรมที่มีการบรรยายเป็นต้น นอกจากนั้น ในระบบการเรียนการสอนที่การใช้เทปวีดีทัศน์ หรือการส่งเนื้อหาวิชาผ่านทางไปรษณีย์เป็นหลัก เช่นเดียวกันไม่จัดว่าเป็นการเรียนการสอนแบบ ALN เนื่องจากไม่เกิดการปฏิสัมพันธ์กัน ระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ผู้สอน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนคนอื่น

ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน

ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน
เป็นการยากที่จะตัดสินว่า คำใดเป็นภาษาพูด คำใดเป็นภาษาเขียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกาลเทศะในการใช้คำนั้นๆ บางคำก็ใช้เป็นภาษาเขียนอย่างเดียว บางคำก็ใช้พูดอย่างเดียว และบางคำอยู่ตรงกลางคืออาจเป็นทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนก็ได้ ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียนพออธิบายได้ดังนี้
๑. ภาษาเขียนไม่ใช้ถ้อยคำหลายคำที่เราใช้ในภาษาพูดเท่านั้น เช่น เยอะแยะ โอ้โฮ จมไปเลยแย่ ฯลฯ
๒. ภาษาเขียนไม่มีสำนวนเปรียบเทียบหรือคำสแลงที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในภาษาเช่น ชักดาบ พลิกล็อค โดดร่ม
๓. ภาษาเขียนมีการเรียบเรียงถ้อยคำที่สละสลวยชัดเจน ไม่ซ้ำคำหรือซ้ำความโดยไม่จำเป็น ในภาษาพูดอาจจะใช้ซ้ำคำหรือซ้ำความได้ เช่น การพูดกลับไปกลับมา เป็นการย้ำคำหรือเน้นข้อความนั้นๆ
๔. ภาษาเขียน เมื่อเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนไม่มีโอกาสแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าเป็นภาษาพูด ผู้พูดมีโอกาสชี้แจงแก้ไขในตอนท้ายได้ นอกจากนี้ยังมีข้อแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียนอีกหลายประการ คือ
๑) ภาษาเขียนใช้คำภาษามาตรฐาน หรือภาษาแบบแผน ซึ่งนิยมใช้เฉพาะในวงราชการหรือในข้อเขียนที่เป็นวิชาการทั้งหลายมากกว่าภาษาพูด เช่น
ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด
สุนัข หมา สุกร หมู กระบือ ควาย
แพทย์ หมอ เครื่องบิน เรือบิน เพลิงไหม้ ไฟไหม้
ภาพยนตร์ หนัง รับประทาน ทาน,กิน ถึงแก่กรรม ตาย,เสีย
ปวดศีรษะ ปวดหัว เงิน ตัง(สตางค์) อย่างไร ยังไง
ขอบ้าง ขอมั่ง กิโลกรัม,เมตร โล,กิโล ฯลฯ
๒) ภาษาพูดมักจะออกเสียงไม่ตรงกับภาษาเขียน คือ เขียนอย่างหนึ่งเวลาออกเสียงจะเพี้ยนเสียงไปเล็กน้อย ส่วนมากจะเป็นเสียงสระ เช่น
ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด

พูด
ฉัน ชั้น เขา เค้า ไหม ไม้(มั้ย)
เท่าไร เท่าไหร่ หรือ หรอ,เร้อะ แมลงวัน แมงวัน
สะอาด ซาอาด มะละกอ มาลากอ นี่ เนี่ยะ
๓) ภาษาพูดสามารถแสดงอารมณ์ของผู้พูดได้ดีกว่าภาษาเขียน คือ มีการเน้นระดับเสียงของคำให้สูง-ต่ำ-สั้น-ยาว ได้ตามต้องการ เช่น


ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด
ตาย ต๊าย บ้า บ๊า ใช่ ช่าย
เปล่า ปล่าว ไป ไป๊ หรือ รึ(เร้อะ)
ลุง ลุ้ง หรอก หร้อก มา ม่ะ
๔) ภาษาพูดนิยมใช้คำช่วยพูดหรือคำลงท้าย เพื่อช่วยให้การพูดนั้นฟังสุภาพและไพเราะยิ่งขึ้น เช่น ไปไหนคะ ไปตลาดค่ะ รีบไปเลอะ ไม่เป็นไรหรอก นั่งนิ่งๆ ซิจ๊ะ
๕) ภาษาพูดนิยมใช้คำซ้ำ และคำซ้อนบางชนิด เพื่อเน้นความหมายของคำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
คำซ้ำ ดี๊ดี เก๊าเก่า ไปเปย อ่านเอิ่น ผ้าห่มผ้าเหิ่ม กระจกกระเจิก อาหงอาหาร
คำซ้อน มือไม้ ขาวจั้ะ ดำมิดหมี แข็งเป็ก เดินเหิน ทองหยอง




ภาษามี 2 อย่าง คือ วัจนภาษา กับ อวัจนภาษา วัจนภาษา (Verbal language) คือ ภาษาที่ใช้อยู่ทั่วไป ที่ผู้สื่อสารสามารถสื่อได้แค่ตัวภาษาเท่านั้น อวัจนภาษา (Nonverbal language) ก็คือ Body languageนั้นแหล่ะ เป็นภาษาที่สื่อสารโดยอารมณ์ เช่น การแสดงออกทางสีหน้า เป็นต้น สำหรับภาษาพูดกับภาษาเขียน ง่ายๆเลย ให้น้องสังเกตจากชีวิตประจำวันที่เราเป็นอยู่นะ ภาษาเขียน ก็คือ Writting langage เป็นภาษาที่เราใช้เขียนอย่างเดียว มันจะเป็นแค่วัจนภาษา หมายความว่า ผู้ที่อ่านจะไม่สามารถมองเห็นอารมณ์ ความรู้สึก ของผู้เขียน หรือตัวละครที่ผู้เขียนสื่อสารไปได้ และจะเป็นภาษาที่สื่อสารอย่างถูกต้องตามไวยากรณ์ แต่ภาษาเขียนก็มีหลายประเภทเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราเขียนอะไร และเขียนถึงใครด้วย ตัวอย่างเช่น การเขียนขอข้อมูลกับทางราชการ เราก็ต้องเขียนให้เป็นแบบแผนหน่อย แต่ถ้าเป็นเขียนอย่างเช่น เขียนโน้ตให้เพื่อนหรือว่าโน้ตย่อให้ตัวเอง ความเป็นแบบแผนก็จะน้อยลง ภาษาเขียน ไม่แตกต่างจากภาษาพูดเท่าไหร่ ส่วนต่างอยู่ตรงที่ภาษาพูด เราสามารถจะสื่อสารโดย body languageได้ และอีกจุดที่แตกต่างคือ แบบแผนในไวยากรณ์จะไม่เน้นมากเหมือนกับภาษาเขียน คือไม่ได้หมายความว่าไวยากรณ์ไม่มี มันก็ยังต้องมี เพราะ ไวยากรณ์ หรือ grammarเนี่ย จะต้องเอาไว้ใช้ในทุกทักษะของการฟัง พูด อ่าน และเขียน ดังนั้นการพูดก็ต้องให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์เ แต่จะไม่strictมากเหมือนกับภาษาเขียน แต่ยังไงเราก็ต้องดูว่าเราพูดกับใครด้วย อย่างเช่น ถ้าเราพูดกับเชื้อพระวงศ์ เราก็ต้องใช้คำราชาศัพท์ หรือพูดกับพ่อแม่ก็ต้องพูดอย่างเคารพ แต่ถ้าเราพูดกับเพื่อนความเป็นแบบแผนก็จะน้อยลง เป็นต้น

การร้อยพวงมาลัย

การประมวลภาพการอบรมการร้อยมาลัยดอกไม้สด
วิธีทำการร้อยมาลัยดอกไม้สดแถวที่ 1 มะลิ 2 ใบกระบือ 1 มะลิ 2 ร้องเรียงต่อกันในลักษณะไม่เกินครึ่งวงกลมแถวที่ 2 มะลิ 1 ใบกระบือ 2 มะลิ 1 ร้อยเรียงต่อกันโดยร้อยมะลิดอกแกรอยู่ระหว่างมะลิดอกที่ 1 กับ 2 ของแถวที่ 1 และกลีบต่อ ๆ ไปก็ร้อยสับหว่างกันไปเรื่อย ๆ ตามลำดับแถวที่ 3 มะลิ 1 (ร้อยอยู่ระหว่างแนวเดียวกับมะลิดอกแรกของแถวที่ 1 ) ใบกระบือ 1 ดอกพังพวย 1 ใบ กระบือ1 มะลิ 1 โดยร้อยสับหว่างเรียงกัน ไปเรื่อย ๆ ตามลำดับแถวที่ 4 มะลิ 1 (ร้อยอยู่ระหว่างมะลิดอกที่ 1 กับใบกระบือใบแรกของแถวที่ 3 ) ใบกระบือ 2 มะลิ 1 แต่กลีบร้อยสับหว่างกันไปเรื่อย ๆ แถวที่ 5,9 และ 13 ร้อยเหมือนแถวที่ 1แถวที่ 6,8,10,12,14 และ 16 ร้อยเหมือนแถวที่ 2แถวที่ 7,11 และ 15 ร้อยเหมือนแถวที่ 3หมายเหตุ จะร้อยจำนวนกี่แถวก็ได้ย่อมแล้วแต่ความยาวตามที่ต้องการจะใช้แต่ควรจะต้องจบลงด้วยแถวมะลิ1 ใบกระบือ 2 มะลิ 1 เสมอ และควรจะต้องให้ลายต่อกันได้ครบลายพอดีในเวลาที่ผูกมัดแล้วมาลัยซีกสิบเอ็ดหลักแบบมีลายแถวที่ 20 @ @ @ @ @ แถวที่ 19 @ @ @ @ @ @แถวที่ 18 @ @ # @ @แถวที่ 17 @ @ # # @ @แถวที่ 16 @ # © # @ แถวที่ 15 @ # © © # @แถวที่ 14 # © $ © # แถวที่ 13 # © $ $ © #แถวที่ 12 © $ & $ © แถวที่ 11 © $ & & $ ©แถวที่ 10 © $ & $ © แถวที่ 09 # © $ $ © #แถวที่ 08 # © $ © #แถวที่ 07 @ # © © # @ แถวที่ 06 @ # © # @ แถวที่ 05 @ @ # # @ @แถวที่ 04 @ @ # @ @แถวที่ 03 @ @ @ @ @ @ แถวที่ 02 @ @ @ @ @แถวที่ 01 @ @ @ @ @ @ หลักที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11@ = กลีบกุหลาย (ด้านโคน)© = กลีบกุหลาบ (ด้านปลาย)# = ใบแก้ว หรือใบมะยม$ = ดอกพุด& = ดอกผกากรองตูม หรือดอกกะเม็ง
วิธีทำแถวที่ 1 กุหลาบด้านโคน 6 ร้องเรียงต่อกันให้มีลักษณะครึ่งวงกลมแถวที่ 2 กุหลาบด้านโคน 5 ร้อยแต่ละกลีบให้สับหว่างกับแถวที่ 1แถวที่ 3 กุหลาบด้านโคน 6 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 1แถวที่ 4 กุหลาบด้านโคน 2 (กลีบแรกอยู่ระหว่างกลีบที่ 1 กับ 2 ของแถวที่ 3) ใบ 1 กุหลาบด้านโคน 2แถวที่ 5 กุหลาบด้านโคน 2 (กลีบแรกอยู่ตรงกับกลีบแรกของแถวที่ 3) ใบ 2 กุหลาบด้านโคน 2แถวที่ 6 กุหลาบด้านโคน 1 (อยู่ระหว่างกุหลาบกลีบที่ 1 กับ 2 ของแถวที่ 5) ใบ 1 กุหลาบด้านปลาย 1 ใบ 1 กุหลาบด้านโคน 1แถวที่ 7 กุหลาบด้านโคน 1 (อยู่ตรงกับกลีบแรกของแถวที่ 5) ใบ 1 กุหลาบด้านปลาย 2 ใบ 1 กุหลาบด้านโคน 1แถวที่ 8 ใบ 1 (อยู่ระหว่างกุหลาบด้านโคนกลีบแรกกับใบแรกของแถวที่ 7) กุหลาบด้านปลาย 1 พุด 1 กุหลาบด้านปลาย 1 ใบ 1 แถวที่ 9 ใบ 1 (อยู่ตรงกับกุหลาบด้านโคนกลีบแรกกับใบแรกของแถวที่ 7) กุหลาบด้านปลาย 1 พุด 2 กุหลาบด้านปลาย 1 ใบ 1แถวที่ 10 กุหลาบด้านปลาย 1 (อยู่ระหว่างใบแรกกับกุหลาบด้านปลายกลีบแรกของแถวที่ 9) พุด 1 ผกากรองตูม 1 พุด 1 กุหลาบด้านปลาย 1แถวที่ 11 กุหลาบด้านปลาย 1 (อยู่ตรงกับใบแรกของแถวที่ 9 ) พุด 1 ผกากรองตูม 2 พุด 1 กุหลาบด้านปลาย 1แถวที่ 12 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 10แถวที่ 13 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 9แถวที่ 14 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 8แถวที่ 15 ร้อยเหมือนกับแถวที 7 แถวที่ 16 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 6แถวที่ 17 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 5แถวที่ 18 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 4แถวที่ 19 กุหลาบด้านโคน 6 (ร้อยเหมือนกับแถวที่ 3)แถวที่ 20 กุหลาบด้านโคน 5 (ร้อยเหมือนกับแถวที่ 2)หมายเหตุ ถ้าต้องการซีกยาว ๆ จะต้องร้อยลายต่อกันหลายลาย เมื่อจบแถวที่ 20 แล้วให้เริ่มร้อยตั้งแต่แถวที่ 1 -20 ก็จะได้อีก 1 ลาย จะร้อยจำนวนกี่ลายนั้นย่อมขึ้นอยู่กับความยาวที่ต้องการจะใช้
หน้าที่ใช้สอบของมาลัยซีก1. ใช้รัดปิดรอยต่อมิให้เห็นปม หรือความไม่เรียบร้อย2. ใช้คล้องต่อกันเป็นมาลัยลูกโซ่3. ใช้ทำเป็นมาลัยชำร่วย4. ใช้ทำเป็นมาลับเถา5. ใช้ผูกรัดทำเป็นดอกทัดหู6. ใช้ผูกรัดทำเป็นดอกไม้สำหรับปักแจกัน หรือ จัดดอกไม้แบบต่าง ๆ 7. ใช้รัดผมมวย8. ใช้เป็นส่วนประกอบตกแต่งงานประดิษฐ์ดอกไม้สดของไทยบางอย่าง